27/09/65 11.45 apec.org

รายงานสรุปนโยบายฉบับใหม่ของหน่วยสนับสนุนนโยบายเอเปคแสดงให้เห็นถึงการเรียกร้องให้มีการพัฒนา การยอมรับและการลงทุนในเทคโนโลยีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในภูมิภาคเอเปคที่เข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนความพยายามของสมาชิกเอเปคในการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งจะทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและเพิ่มผลกำไรทางเศรษฐกิจ
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคส่วนต่าง ๆ กับสิ่งประดิษฐ์ในหลากหลายสาขา เช่น ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เทคโนโลยีสารสนเทศ การเชื่อมต่อ การจัดการข้อมูล การอินเทอร์เฟซผู้ใช้ เพาว์เวอร์ซัพพลาย ตลอดจนสินค้าอุปโภคบริโภค บ้านอัจฉริยะ ยานพาหนะและการใช้งานด้านการดูแลสุขภาพ
ดร.อัคหมัด บาฮากี (Dr Akhmad Bayhaqi) นักวิเคราะห์อาวุโสระบุกับหน่วยสนับสนุนนโยบายว่า “การมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก เป็นช่องทางทั่วไปสำหรับเศรษฐกิจในการเข้าร่วมการผลิตทั่วโลกและระบบนิเวศนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม เราทราบด้วยเช่นกันว่ารายได้ที่เกิดจากแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่านั้นไม่ได้มีการกระจายอย่างเท่าเทียมกัน”
ดร.บาฮากีอธิบายแนวคิดของ “เส้นโค้งรอยยิ้ม” (smiling curve) ในห่วงโซ่คุณค่า ในห่วงโซ่คุณค่า โดยที่ปลายทั้งสองของรอยยิ้มมีกำไรสูงกว่าในแง่ของมูลค่าเพิ่มเมื่อเทียบกับจุดตรงกลาง คือ ปลายด้านหนึ่งใกล้กับผู้ผลิตและอีกปลายหนึ่งอยู่ใกล้กับผู้บริโภค จุดกึ่งกลางนี้เป็นขั้นตอนการผลิตที่ใช้แรงงานมากซึ่งโดยทั่วไปจะเพิ่มมูลค่าสัมพัทธ์น้อยลง
ดร.บาฮากีอธิบายอีกว่า “เพื่อเพิ่มรายได้และผลกำไรจากการเข้าร่วมในห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก สมาชิกเอเปคสามารถย้ายตำแหน่งของพวกเขา ทั้งต้นน้ำไปสู่กิจกรรมการวิจัยและพัฒนา หรือปลายน้ำไปสู่กิจกรรมการสร้างแบรนด์และการตลาด”
สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาและการนำเทคโนโลยีจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ 4 มาใช้ตามรายงานสรุปนโยบาย ระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเศรษฐกิจอาจส่งผลต่อตำแหน่งในห่วงโซ่คุณค่าของโลก
การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการเพิ่มทักษะด้านแรงงานสามารถช่วยให้สมาชิกเอเปคก้าวไปสู่ระดับที่สูงขึ้นได้ ในขณะที่แนวทางแบบดั้งเดิม เช่น ความเชี่ยวชาญพิเศษจะช่วยให้เศรษฐกิจของสมาชิกเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและการผลิตในขณะที่ห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
ในปี 2019 ภูมิภาคเอเปคมีสัดส่วนส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์หรือ 699 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในระดับโลก และร้อยละ 63 หรือ 533 พันล้านดอลลาร์ของการนำเข้าจากทั่วโลก จีนเป็นผู้ส่งออกชั้นนำของโลก รองลงมา คือ จีนไทเป (ไต้หวัน) ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และเม็กซิโก ในด้านการนำเข้า สหรัฐอเมริกาและจีนเป็นสองประเทศที่มีส่วนสนับสนุนหลัก โดยนำเข้าร้อยละ 24 และ 21 ตามลำดับ
บทสรุปนโยบายยังระบุว่านวัตกรรมใหม่ของสมาชิกเอเปคอยู่ในส่วนของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อย่างไร โดยการประเมินจำนวนกลุ่มการขอสิทธิบัตรที่ครอบคลุมเนื้อหาทางเทคนิคในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเปคได้รับการบันทึกเพิ่มขึ้น 6 เท่าของสิทธิบัตร จากเพียง 9,000 รายการในปี 2000 เป็นเกือบ 57,000 รายการในปี 2019 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการเชื่อมโยง บ้าน สินค้าอุปโภคบริโภค ตลอดจนฮาร์ดแวร์เทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ สมาชิกเอเปคที่มีการจดสิทธิบัตรมากที่สุด ได้แก่ แคนาดา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีนไทเป (ไต้หวัน) และสหรัฐอเมริกา และยังแสดงความผูกพันธ์ของสิทธิบัตรในห่วงโซ่คุณค่าของพวกเขา
ดร.บาฮากีอธิบายอีกว่า “ห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก ในฐานะรูปแบบของเครือข่ายการค้าระหว่างบรรษัทข้ามชาติและซัพพลายเออร์ที่กระจายไปทั่วโลก อาจเป็นช่องทางในการถ่ายทอดความรู้ ความรู้ความชำนาญและนวัตกรรม”
เขาได้สรุปว่า “เทคโนโลยีการผลิตดิจิทัลขั้นสูงสามารถนำมาซึ่งประโยชน์และการยกระดับการบูรณาการ ตลอดจนโอกาส เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า”
ความได้เปรียบของการนำและการลงทุนในเทคโนโลยีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มีมากกว่าการเพิ่มรายได้และผลกำไร รายงานสรุปนโยบายยังระบุไว้อีกว่า สิ่งดังกล่าวเป็นกลยุทธ์เชิงคาดการณ์ล่วงหน้าที่ช่วยให้เศรษฐกิจของสมาชิกสามารถดำเนินต่อไปตามเส้นทางการเติบโตเชิงนวัตกรรมตามที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของปุตราจายาของเอเปค (APEC Putrajaya) ในขณะเดียวกัน การนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เอื้ออำนวย เช่น การลดช่องว่างทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมความรู้ด้านดิจิทัล การเพิ่มทักษะให้กับแรงงานในท้องถิ่น และการถ่ายทอดความรู้ผ่านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคส่วนที่มีความสำคัญ
หมายเหตุ
ผู้สนใจสามารถอ่านรายงานฉบับเต็ม เรื่อง Digital Technology and Global Integration: Opportunities for Innovative Growth ได้ที่ https://www.apec.org/publications/2022/09/digital-technology-and-global-integration-opportunities-for-innovative-growth
ที่มา
APEC Policy Support Unit. (27 September 2022). Technology Adoption and Integration is the Lever to Move Up the Value Chain: Report. Retrieved from https://www.apec.org/press/news-releases/2022/technology-adoption-and-integration-is-the-lever-to-move-up-the-value-chain-report
แปลและเรียบเรียงโดย
นายศิวศิลป์ จุ้ยเจริญ, นักวิจัยปฏิบัติการ
สถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์